วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบเพิ่มเติม

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน
    จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้ weblog หรือ blog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป  แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติม
ตอบ จุดเด่น
-ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในการทำ weblog ซึ่งเป็นความรู้ที่ทันสมัย เหมาะสำหรับครูพันธุ์ใหม่
-การเรียนผ่าน weblog เป็นการเรียนที่สะดวกสบาย
-เป็นส่วนช่วยให้ให้นักศึกษาใช้เวลาว่างได้อย่างคุ้มค่า
-เพิ่มความรู้ความสามารถในการเรียนรู้
-ทำให้นักศึกษาจักนวัตกรรมไหม่เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวิชาชีพของตนเอง
-เป็นการเผยแพร่ความรู้ทางweblogของเราได้
           จุดด้อย
-การทำweblogต้องใช้อินเตอร์เน็ตหากไม่มีสัญญานก็ไมสามรถทำงานได้
-สำหรับคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ต้องหาคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำงาน

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขัอสอบปลายภาค


คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ข้อที่
1 กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นครูดิฉันจะแนะข้อดีและข้อเสียให้กับผู้เรียนว่า
ข้อดี ทักษิณมีสมองที่เฉลียวฉลาดและมีความรอบคอบควบคู่กับความคิดที่สร้างสรรค์ สามารถพัฒนาประเทศได้ดีกว่านายกท่านอื่นๆและใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับเปลี่ยนเป็นโอกาส เช่นจากราคาทองคำที่สูงขึ้น ทักษิณก็ได้ขึ้นราคายางพาราโดยการให้ชาวโลกได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของยางพารา จึงทำให้ประเทศสามารถยับหยั่งวิกฤตได้อย่างเป็นที่น่าพอใจและได้ส่งเสริมให้มีการทำสินค้า OTOP ซึ่งเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นอย่างมาก จึงเห็นได้ว่าข้อดีของท่านนั้นสร้างประโยชน์ได้ไม่น้อย
ในฐานะที่เป็นครูรุ่นใหม่นั้นจึงอยากให้ผู้เรียนนำแบบอย่างเหหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพยายามค้นหาสิ่งใหม่ๆเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมอย่างมากถึงมากที่สุด

ข้อเสีย ทำงานอย่างไม่บริสุทธิ์ใจ ใช้ความคิดตัวเองเป็นหลัก และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวมและมีการโกงในวงใน ทำผิดกฎในการเป็นผู้นำที่ดีและพร้อมทำทุกอย่างที่ทำให้ตนนั้นมีรายได้เข้าตัวเอง
ดิฉันจึงใคร่สอนให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีศิลธรรมและคุณธรรมในตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีความบริสุทธิ์ใจในการทำสิ่งใดก็ตาม และใช้เรื่องของทักษิณมาเป็นบทเรียนให้กับตนเอง

ข้อที่2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสิ่งแรก คือ ต้องมีสื่อการสอนที่ดี เนื้อหาต้องมีความสอดคล้อกับการเรียนการสอน
1. สอนเป็นกลุ่มใหญ่พร้อมกัน ความรู้จะถูกถ่ายทอดจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ด้วยอัตราความเร็วเดียวกัน โดยที่ผู้เรียนเพียงทำหน้าที่ฟังการถ่ายทอดจากครูแล้วจดบันทึก เท่านั้นสื่อที่ใช้จึงต้องมีขนาดใหญ่พอที่ผู้เรียนจะมองเห็นได้พร้อม ๆ กัน ในขณะที่ครูใช้ เพื่อประกอบการอธิบาย
2. การสอนกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนประมาณ 5 - 8 คน เรียนรู้จากเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนที่ครูจัดให้ด้วยอัตราเร็วที่ไร่เรี่ยกัน เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนในแต่ละกลุ่มอาจเหมือนกันหรือ เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันโดยใช้การหมุนเวียน เพื่อการเรียนรู้ก็ได้สื่อที่ใช้กับกิจกรรมการเรียนลักษณะนี้จึงไม่ต้องการในเรื่องขนาดใหญ่ แต่ควรมีหลายชุดในกรณีกลุ่มค่อนข้างใหญ่ (6 - 8 คน )
3. การสอนรายบุคคล ผู้เรียนจะเรียนรู้จากเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ที่ครูจัดให้เป็นรายคนด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกันไปเป็นรายบุคคล สื่อที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะนี้ จะต้องชัดเจนพอที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเป็นสื่อขนาดเล็กได้
ในฐานะที่ดิฉันเป็นครูก็จะให้คำแนะนำแต่สิ่งที่ดี ๆ เป็นประโยชน์ให้แก่ศิษย์พร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ให้ศิษย์โดยไม่ปิดบังอำพรางให้การสนับสนุนและยกย่องศิษย์ที่มีความรู้และความประพฤติดีเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนอื่น ๆและปกป้องสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ศิษย์จากสิ่งแวดล้อมและสิ่งยั่วยุที่ไม่ดีทั้งหลายและสร้างความไว้วางใจให้แก่ศิษย์และพร้อมให้ความรู้แก่ศิษย์เสมอ

ข้อที่ 3 ในฐานะที่ท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นครูพันธ์ใหม่ ต้องมีลักษณะเป็น มืออาชีพ ตาม พ.ร.บ.การศึกษา แห่งชาติกำหนดไว้ในหน้าที่ของครูคือ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ฯลฯ ในส่วนนี้ ดิฉันจะขอยกตัวอย่าง เรื่องเทคโนโลยีการสอนยุคใหม่ ซึ่งครูทุกท่านจะปฏิเสธไม่ได้เลย
นวัตกรรมแบบใหม่ที่นำมาใช้ คือ
-มีวิสัยทัศน์ กระบวนทัศน์ใหม่ มองเห็นและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมไทยที่กระทบและเชื่อมโยงกัน
-มีความคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) ที่มองเห็นปัญหา ที่มาและผลกระทบ มีแนวทางและทางเลือกใหม่ให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน-มี ความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง พัฒนาตนเอง อยู่ตลอดเวลา มีนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลง
-มีการรู้จักและเข้าใจเด็ก ธรรมชาติของเด็กในวงกว้าง รู้จักเด็กที่หลากหลาย มองทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความเชื่อ เพื่อนำมาจัดสภาพแวดล้อมสำหรับผู้เรียน
-มีเทคนิคการสอนใหม่ โดยเน้นให้เด็กเกิดการพัฒนาความคิด การจัดการ การแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้ การเรียนจากสภาพจริง และการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ -มีทักษะใหม่ในการพัฒนาสาระการศึกษา การสร้างหลักสูตรท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ของแต่ละพื้นที่
-มีทักษะในการทำงานร่วมกัน เป็นทีมงาน-มีเจคติในการทำงานร่วมกับชุมชน การสรรหาคนในชุมชนมาร่วมงาน ครูต้องก้าวออกจากโรงเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ต้องยอมรับในคุณค่าความรู้ ความสามารถ และความคิดของชุมชน เพื่อมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้มากที่สุด


ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
1.ผู้เรียนจะมีความรู้ ความสามารถ และมีคุณลักษณะต่าง ๆ ครบตามความคาดหวังของหลักสูตร
2.ประชาชน จะเกิดความมั่นใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ ว่าแต่ละแห่งมีคุณภาพการศึกษาในมาตรฐานกลางเดียวกัน
3.หน่วยงานต่าง ๆ สามารถผู้สำเร็จการศึกษาเข้าทำงานด้วยความมั่นใจ
4.สังคม มั่นใจในการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา
5.สถานศึกษา มีทิศทางการจัดการศึกษาที่ชัดเจนตามมาตรฐานกลางที่กำหนด มีระบบบริหารคุณภาพ ระบบควบคุมคุณภาพ มีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ทำงานเป็นทีม และมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีและข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ข้อดี คือผู้สอนมีความมีความมุ่งมั่นในการสอน ใช้วิธีการสอนที่ทันสมัยเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผู้สอนมีความเสียสละและแสดงถึงความจริงใจในการสอนทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนการสอน
ข้อเสีย คือ บางครั้งผู้สอนใช้เวลาในการสอนนานเกินไปทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อรมาก

งานส่งอาจารย์

http://www.mediafire.com/?mamz4ydnyle

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่10




การจัดชั้นเรียนที่ดีความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุดบรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียนในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้นบรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดีเพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนรูปแบบการจัดชั้นเรียนการจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรมการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง


 

ใบงานที่9





เตรียมอุดมศึกษา
: โรงเรียนช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ แผนกไฟฟ้ากำลัง
อนุปริญญา
: วารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ (อศศ.) วิทยาลัยครูยะลา
ปริญญาตรี
: ศิลปศาสตรบัญฑิต (ศศ.บ) พัฒนาสังคม สถาบันราชภัฎยะลา
ปริญญาโท
: ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต (ศศ.ม.) สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ประกาศนียบัตรชั้นสูง
: การเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหาหษัตริย์เป็นประมุข (สำหรับนักบริหารชั้นสูง)(ปปร.3) สถาบันพระปกเกล้า ฯ
อาชีพปัจจุบัน
: การเมือง
ประสบการณ์
การเมือง
: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดนราธิวาส 1/2535,2539–2543,2548-2549,2550-ปัจจุบัน :ประธานตณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร : ประธานอนุคณะกรรมาธิการความมั่นคง ศึกษากรณีความมั่นคงปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: ประธานอนุกรรมาธิการตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางปลอม ของบุคคลต่างชาติ : รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ (คนที่1): รองประธานคณะกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร (คนที่1): เลขานุการ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ: คณะกรรมาธิการการทหาร: คณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ : คณะกรรมาธิการวิสามัญป่าไม้ชุมชน: คณะกรรมมาธิการร่าง พรบ.งบประมาณปี 2542,2549: คณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ : คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการฮัจย: คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ทำเนียบรัฐบาล (วิป รัฐบาล): ประธานสภาจังหวัดนราธิวาส: สมาชิกสภาจังหวัดนราธิวาส
ร่วมงานในรัฐบาล
: โฆษกรองนายกรัฐมนตรี (ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี): ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล): คณะทำงานรัฐมนตรีมหาดไทย (พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์)
งานในพรรค
: รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปัจจุบัน): คณะทำงานด้านสังคมพรรคประชาธิปัตย์ : คณะทำงานการประเมินผลสาขาพรรคประชาธิปัตย์
สังคม
: กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา: กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยาลัยอิสลามยะลา: คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกิจการฮัจย์: ที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้
ธุรกิจ(อดีต)
: ธุรกิจการค้ายางพารา: รับเหมาก่อสร้าง: โรงเลื่อยไม้ยางพารา
ดูงาน
: อีตาลี สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส กรีก อียิป โมร๊อคโค ตุนิสเซีย ตรุกี ซาอุดิอาราเบีย มาเลเซีย สิงค์โปร พม่า บรูไน
เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์
:ปี 2539 ทวิติยาภรณ์มงกฏไทย(ทม.)
:ปี 2541 ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก(ทช.)
:ปี 2543 ประถมภรณ์มงกฏไทย(ปม.)
:ปี 2548 ประถมภารณ์ช้างเผือก(ปช.) : [
แก้] ประวัติทางการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส 4 สมัย (1/2535 , 2539, 2548, 2550 - ปัจจุบัน)
ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร
ประธานอนุความมั่นคง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร
ประธานอนุกรรมาธิการตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางปลอม ของบุคคลต่างชาติ
รองประธานกรรมาธิการ เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ คนที่ 1
รองประธานกรรมาธิการติดตามมติ คนที่ 1
เลขานุการ กรรมาธิการการต่างประเทศ
กรรมาธิการการทหาร
กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ
กรรมาธิการวิสามัญป่าไม้ชุมชน
กรรมมาธิการร่าง พรบ.งบประมาณปี 2542,2549
กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
กรรมาธิการวิสามัญกิจการฮัจย์
คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิป รัฐบาล) ทำเนียบรัฐบาล
ประธานสภาจังหวัดนราธิวาส
สมาชิกสภาจังหวัดนราธิวาส
โฆษกรองนายกรัฐมนตรี
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
นายพิชัย รัตตกุล
คณะทำงานรัฐมนตรีมหาดไทย
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
การดำรงตำแหน่งทางสังคม
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยาลัยอิสลามยะลา
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกิจการฮัจย์
ที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้

ใบงานที่ 8







ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ตอบ ลักษณะของโครงการที่ดีโครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่องค์การให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่องค์การหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่ง ประชุม (2535) ได้สรุปลักษณะที่ดีของโครงการดังต่อไปนี้
1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานได้
2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้
3. รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป็นต้น
4. รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ
5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้
6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7. โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม
8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการ
ข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้
1. ชื่อโครงการ 2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ 4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 6. วิธีดำเนินการ
7. แผนปฏิบัติงาน 8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ 10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คื
1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ
2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล
3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์
4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย
5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ
6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ
7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ
8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ
9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน
10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล
11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ ทั้งหมดอาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ
กลุ่มที่ 11 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอบ เรื่องการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา“การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ” โดยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา จึงจำ เป็นที่จะต้องปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาไทย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา การออกแบบและการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักธรรมาภิบาล ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพผู้บริหาร เป็นต้นในการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้นิยามคำ ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา” ไว้ 2 นิยาม คือ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ อีกหลายอาชีพ แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ ผู้บริหาร เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้
1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี
2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา
5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษษ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก
กลุ่มที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษา
ตอบ การประเมินคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย1 หลักการประเมินคุณภาพ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน2 แนวทางในการประเมินภายใน
1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ
2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย
3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน
4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 6


1. วัฒนธรรมขององค์กร คือ

พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้นๆ



2.เป็นครูสอนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สิ่งที่ควรศึกษา คือ

ศึกษาพฤติกรรมของคนในสามจังหวัดและปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและนักเรียนเหล่านั้นแล้วศึกษาความต้องการของชุมชน โรงเรียนและนักเรียน



3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้ คือ
ตอบ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมนี้ จะเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ภายในสถานที่ทำงาน ท่ามกลางบรรยากาศของการปฏิบัติหน้าที่ประจำตามปกติโดยมีวิธีการปฏิบัติที่สำคัญ 4 วิธี1. ใช้การเสวนา (Dialogue) ในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมีการปฏิบัติดังนี้- เริ่มต้นด้วยหัวข้อของการเสวนา ให้กลุ่มมีการเสวนาร่วมกันคิดพิจารณากันเอง โดยไม่มีการกำหนดข้อสมมติฐานหรือทางเลือกใด ๆ ไว้ล่วงหน้า- ในการเสวนาทุกครั้งให้เกิดประสิทธิภาพ สมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความคิดและจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับข้อคิดเห็นและเหตุผลของกันและกัน- ห้ามนำเอา “อัตตา” และตำแหน่งหน้าที่การงาน มาใช้ในการเสวนา เพราะจะทำให้เกิดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ร่วมกัน 2. ใช้การอภิปราย (Discussion) มีการจัดเตรียมข้อสมมติฐานและทางเลือกต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาอภิปรายร่วมกัน 3. ใช้เทคนิคของการบริหารงานเป็นทีม (Team Management) เป็นเรื่องของการใช้ความสามารถของหัวหน้าทีมในความเป็นผู้นำ (Leadership) และความเข้าใจในจิตวิทยาของการบริหารทีมงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากผลสำเร็จ หรือความผิดพลาดร่วมกัน 4. ใช้เทคนิคของการบริหารโครงการธุรกิจ (Business Project Management) โดยหลักการบริหารมีหัวหน้าและสมาชิกในโครงการมีจุดเริ่มต้นและกำหนดแล้วเสร็จที่ชัดเจนมีกิจกรรมพร้อมผู้รับผิดชอบตลอดจนมีกระบวนการของการบริหารอย่างเป็นระบบ เช่น- การประเมินงานโครงการ (Estimating)- การวางแผนงานโครงการ (Planning)- การกำหนดกิจกรรมและเวลา (Scheduling)- การปฏิบัติงานตามโครงการ (Implementation)- การติดตามผลความก้าวหน้า (Tracking & Control)- การปรับปรุงแก้ไข (Fine Tuning)- การส่งมอบโครงการ (Hand Over)โดยสมาชิกทุกคนในองค์การจะมีโอกาสได้รับความรู้ความเข้าใจ ในงานทุกขั้นตอนโดยเท่าเทียมกัน
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามจะรวบรวมหรือเก็บเนื้อหาสาระจากสิ่งที่ต้องการจะเรียนให้ได้มากที่สุด2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน3. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น 3 ขั้นดังนี้• ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน• ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ• ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )4. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น5. การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอดนั้นเกิดจากการทีผู้เรียนมองเห็นลักษณะรวมของสิ่งนั้นก่อน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 5

1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ในฐานะที่เป็นครู การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษานั้น ครูจะต้องความเป็นกันเองกับนักศึกษา มีความยุติธรรมต่อนักศึกษาทุกคนสามารถให้นักศึกษาอยู่ในกฏเกณฑ์ของหอด้วยความจริงใจ และพร้อมช่วยเหลือนักศึกษาในทุกๆด้านพร้องทั้งเป็นตวอย่างที่ดีของนักศึกษา เช่น การทะเลาะเบาะแว้งของนักศึกษาในหอพักครูควรใช้เหตุผลในการตัดสินนักศึกษา

2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
สอนให้นักศึกษาทำงานด้วยความสามัคคี ไม่เอาเปรียบในการทำงานมีความอิสระในการทำงานแบ่งมอบหมายหน้าที่งานอย่างไม่เอาเปรียบเคารพสิทธิเสรีภาพของเพื่อนในกลุ่ม

3.หากทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์มาใช้คือ
1.อธิบายถึงความสัมพันธ์ของศาสนา
2.ปรับความเข้าใจระหว่าง และ กัน
3.อธิบายถึงการอยู่ร่วมกันที่ดีในสังคม

4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
1.เปลี่ยนความคิดเชิงตำหนิ กลายมาเป็นยอมรับความจริงของตนเอง
2.หากจะต่อว่าลูกน้อง ให้หาข้อดีของเขาสัก 5 ข้อก่อนจะต่อว่าเขา 1 ข้อ
3.มองให้เห็นว่าสิงที่เรากำลังทำนั้นส่งดีกับใครบ้างอยู่เสมอๆ
4.สร้างวินัยให้กับตัวเองให้เป็นคนที่ทำงานให้เสร็จทันเวลากำหนด

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 4


1.หลักการทำงานเป็นทีม
1.มีอุดมการที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ
2.ยึดมั่นในความถูกต้อง
3.ใช้หลักการประนีประนอม
4.ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ
5.มี่สำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบ
6.ถือว่าทุกคนีความเท่าเทียมกัน
7.เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่นตัวของเพื่อนสมาชิก
8.ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว
9.รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา
10.เปืดใจให้กว้างระหว่างกัน
11.รู้จักแบ่งงาน และ ประสานงาน
12.มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร
13.ถือการปฏิบัติกฏระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ
14.ยอมรับผิดเมื่อทำผิด


2.ปัจจัยการทำงานเป็นทีม
1.บรรยกาศของการทำงานเป็นการเอง คือ ทุกคนช่วยทำงานกันอย่างจริงจัง และจริงใจ
2.ความไว้วางใจกัน คือ เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานเป็นทีม มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
3.มีการมอบหมายอย่างชัดเจน คือ ยอมรับภารกิจหลักของมีมงาน
4.บทบาท คือ บทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง
5.วิธีการทำงาน คือ การสือความ การตัดสินใจ ภาวะผู้นำ การกำหนดกติกา
6.การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานเป็นทีม
7.การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง

3.ในฐานะที่เป็นครูจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมมาประยุกต์ใช้ คือ
จะนำทั้งหลักและปัจจัยในการทำงานเป็นทีมมาใช้ควบคู่กับการสอนให้มีความลงตัวมากที่สุดทั้งผู้สอน และ ผู้เรียน

รูป 2







วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3

1.ความหมาย องค์ และองค์การ
องค์ คือ ส่วนประกอบของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ คือ การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย

2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในชองการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

3.การสื่อสารมีช่องสื่อสาร คือ
1. ผู้ส่งข่าวสาร คือ อาจเป็นสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณภาพข้อมูล
2. ผู้รับข่าวสาร คือ แล่งกำเนิดขางสารที่ได้ส่งมา
3. ช่องสัญญาณ คือ สือกลางที่ข่างสารเดินทางผ่าน
4. การเข้ารหัส คือ เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย
5. การถอดรหัส คือ การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสาร
6. สัญญาณรบกวน คือ เป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ มักจะทอนหรือกวนระบบอาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับสาร

4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร
2. เพื่อแจ้งให้ทารบ หมายถึง เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านองค์ความรู้
3. เพื่อสร้างความพอใจ หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดทางจิตใจหรืออ่ารมณ์ความรูสึกแก่ผู้รับสาร
4. เพื่อเสนอหรือชักจูง มุ่งเน้นผู้รับสารยอมปฏิบัติตาม เป็นต้น

5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้
จะใช้การสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นมากที่สุด โดยการนำการสื่อสารนั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และครอบคลุมไปทุกๆด้าน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 2

1. ใความหมายผู้นำ ผู้บริหาร มีความแตกต่างกัน
ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ สั่งการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้มีการเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์ที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ เป็นต้น
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่สามารถจัดการกระบวนการของการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และการควบคุม เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหาร ความสามารถของผู้บริหาร สามารถวัดได้จากประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงานที่เกิดขึ้น
ผู้นำและผู้บริหารมีความเหมือนหรือแตกต่าง คือ
ความแตกต่าง
-ผู้บริหารเน้นความสนใจที่ปัจจัยในองค์กร ในคณที่ผู้นำเน้นความสนใจทีปัจจัยภายนอกองค์กร
-ผู้บริหารเน้นความแน่นอน เสถียรภาพมั่นคง ในขณะที่ผู้นำเน้นถึงความยืดยุ่นและการเปลี่ยนแปลง
-ผู้บริหารเน้นบำรุงรักษา ในขณะที่ผู้นำเน้นการพัฒนา
-ผู้บริหารมักจะเน้นระบบและโครงสร้าง ในขณะที่ผู้นำจะเน้นคน
-ผู้บริหารเน้นการบริหารจัดการ ในขณะที่ผู้นำจะเน้นการสร้างวัฒนธรรม
ความเหมือน
ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติของภาวะผู้นำนั้นเอง การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน จึงจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะผู้บรีหารสมัยใหม่ตระหนักดีว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามลำดับขั้นของความต้องการจำเป็น เป็นต้น

2. สรุปบทบาทและภาวะหน้าที่ของนำ
ในการศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้นำนั้นในระยะต้นได้ทำการศึกษากิจกรรมต่างๆของการบริหารและเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม พบว่า งานบริหารงานเป็นงานที่ตื่นเต้นระทึกใจ มีหลากหลายไม่สัมพันธ์กัน เป็นงานเชิงรับมากกว่ารุกไมเป็นไปตามลำดับ และมีลักษณะทางการเมื่องชอบติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆโดยการพบปะสนทนา กระบวนการตัดสินใจมีลักษณะทางการเมื่องข้องข้าวสูง การวางแผนเป็นแบบไม่เป็นทางการและปรับเปลียนได้ตลอดเวลาเป็นต้น

3.วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษา
1. มีมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ
2.มีกากำหนดลำดับความสำคัญที่เหมะสม
3.มีการตั้งและคาดหวังในมาตราฐานที่สูง
4.มีการเข้มงวดและยุติธรรม
5.การให้ความสำคัญและโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้
6.พัฒนาและรักษาระดับเร่งด่วน
7.การให้ความสนใจในรายละเอียด
8.การยอมรับต่อความผิดพลาด
9.การเข้าไปเกี่ยวข้องในที่สำคัญ
10.สนุกกับงาน

4. ภาวะผู้นำสมัยใหม่
1. ให้อำนาจแก่คน 2. จัดคนให้เป็นทีม
3. จัดให้ทีมงานทำงานด้วยตัวเองได้ 4. กระตุ้นทีมงานให้ทำงาน
5. ให้การจูงใจ 6. ให้ความเชื่อถือ
7. ปรับปรุงโครงสร้าง

5. ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดี
1. มีความรู้ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมัปัญญาที่ดีก็เกิด
2. เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดัคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่งคง
3.เป็นผูที่มีแรงกระตุ้นภานใน คือมีจิตสำนึกขึ้นในตัวของผู้นำเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ
4.เป็นผู้นำที่มีทัศนะคติที่ดีและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำกิจการต่างๆประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย



วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 1

1.ทฤษฎีการบริหารการจัดการศึกษา
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำสิ่งต่างๆได้รับการกระทำจงเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่บริหารตัดสินใจเลือก (simon)

ส่วนคำว่า " การบริหารการศึษา " หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรูความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคลและอาศัยเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

2..ศาตร์และศิลป์
ศาสตร์ คือ ระบบวิชาความรู้
ศิลป์ คือ ฝีมือในการจัดการให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย
3.วิวัฒนาการบริหาร
1. วิศวกรรมอุตสาหกรรม ได้แก่ การวางผังโรงงาน การศึกษางาน
2. วิทยาศาสตร์การจัดการ ได้แก่ สถิติศาสตร์ การจัดการ
3. วิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ การออกแบบงานที่เหมาะสมกับสรีระของคนงาน
4. วิทยาการข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผล
4.ทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎี x ทฤษฎี y
ทฤษฎีมาสโลว์ คือ
1.บุคคลเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้อง ความต้องการมีอิทธิพลเป็นจูงใจพฤติกรรม ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่เป็นเหตุจูงใจ
2.ความต้องการของบุคคลเป็นลำดับชั้นเรียงตามความสำคัญจากความต้องการพื้นฐานจนถึงความสับซ้อน
3.เมื่อความต้องการลำดับต่ำได้รับการตอบสนองอย่างดีแล้ว บุคคลจะก้าวลำดับที่สูงขึ้นต่อไป
ทฤษฎีภาวะผู้นำ คือ
บุคคลที่มีความสามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่างๆที่ต้องการบรรลุเป็หมายที่ตั้งไว้
ทฤษฎี x คือ
คนประเภทขี้เกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับมีกฎเกณฑ์คอยกำกับควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี y คือ
คนประเภทขยัน ควรมีกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสมและควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
5.ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
1. ความต้องการด้านกายภาพ 2. ความปลอดภัย
3. ความต้องการด้านสังคม 4. ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต



ประวัติส่วนตัว

นามว่า นางสาวฮัสมะห์ เจ๊ะเม๊าะ
เกิดวันที่13/07/30
ที่อยู่ 257 ม.1 ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 96130
อดีต ศึกษาอยู่ โรงเรียน อ.อ
ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครฯ
หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์
กริ๊นๆ 085-6908680